Last updated: 9 ม.ค. 2568 | 12 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
Recap เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด & ไลเคนอะไมลอยด์
Keratosis Pilaris (KP) & Lichen Amyloidosis Management
https://youtu.be/tQApI4WsWoA?si=kEwif5KqHwXt45L-
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
Update ขนคุด Keartosis Pilaris KP
เกิดจากอะไร + มีลักษณะอย่างไร + ดูแลได้อย่างไร?
https://youtu.be/Uu776qYPCxQ?si=_TC9gaoDINPtoYCO
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
• เทคนิคดูแลผิว สำหรับปัญหาขนคุด Keratosis Pilaris KP เคพี >> https://youtu.be/YsV60sTz_VI?si=AQDhCp0ZXMAHfixN
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
• ขนคุดเกิดได้อย่างไร >> https://youtu.be/QRarNO4k4e0?si=F9X7xEshYRSC_yBS
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
• แนวทางการรักษา + เลเซอร์ >> https://youtu.be/PsMCxzOyZrk
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
• เทคนิคดูแลผิว + สกินแคร์สำหรับปัญหาขนคุด >> https://youtu.be/_MA0adk27Us?si=xxN1tc6BeKFq9B5p
Dr. Ruj’s comments:
• ถ้าเป็นมาก มีอาการคันแดงหรือส่งผลต่อความสวยงามความมั่นใจ หมอจะใช้เทคนิคการดูแลรักษาหลายอย่างร่วมกันเช่นการผลัดเซลล์ผิว Peeling + เลเซอร์ และ moisturizer ครับ
• การผลัดเซลล์ผิวไม่ควรมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองทำให้ขนคุดเห่อขึ้นได้ครับ
• การใช้เลเซอร์ มีหลายชนิดที่มีการศึกษา เช่น Long Pulsed NdYAG, Fractional Laser แนะนำต้องรักษาเสริมร่วมกับวิธีอื่นด้วยครับ
•และเมื่ออาการดีขึ้นแล้วแนะนำให้ดูแลผิวด้วยการทาครีมบำรุงและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอย่างต่อเนื่องครับ
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
• หมอมีเทคนิคการดูแลผิวและการเลือกสกินแคร์สำหรับผู้ที่มีปัญหาขนคุดมาฝากกันครับ https://youtu.be/9yj1EwkoVLY
* ผลการดูแลขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละบุคคลด้วยนะครับ
รูปใช้เป็นตัวอย่างผลจากการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
ผลการรักษาขึ้นอยู่กับเทคนิคการรักษาและการตอบสนองของแต่ละบุคคลด้วยนะครับ
ขนคุดชนิดที่มีรอยแดง Keratosis Polaris Rubra = KP Rubra มีลักษณะอย่างไร & ดูแลได้อย่างไร ?
https://vt.tiktok.com/ZSNCSDhr7/
แนะนำเทคนิคดูแลปัญหาผิวหนัง: เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment
>> การผลัดเซลล์ผิวในปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris ไม่ควรผลัดมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองทำให้ขนคุดเห่อขึ้นได้ครับ
• แนะนำผลัดเซลล์ผิวสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (ตามคำแนะนำของสมาคมแพทย์ผิวหนังอเมริกา)
+ ทามอยเจอไรเซอร์ให้ความชุ่มชื้นให้เพียงพอครับ
ส่วนมากที่พบมักจะผลัดเซลล์ผิวบ่อยเกินไป***
เช่นทุกวันหรือวันเว้นวันโดยไม่ได้ให้ความชุ่มชื้นผิวเพียงพอทำให้เกิดการระคายเคือง จนกระทั่งผิวหนังอักเสบ ยิ่งแห้ง แห้ง แดง ลอกคัน ทำให้ขนคุดยิ่งเห่อครับ
คลิปเต็มครับ >> https://youtu.be/PsMCxzOyZrk
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”
• เกิดจากพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของการสร้างเซลล์ผิวหนัง (Keratiniza tion)
• ที่ส่งผลให้บริเวณรูขุมขน มีการอุดตันของรูขุมขนด้วยสารเคอราติน ที่เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า Keratin plug ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกทะลุรูขุมขนออกมาได้ เกิดเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง
ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขนคุด?
โรคขนคุด เกิดในคนทุกอายุทุกเชื้อชาติ ทั้งเพศชายและเพศหญิง อาจเป็นโรคเดี่ยวๆ
• หรือพบร่วมกับโรคอื่น เช่น Atopic dermatitis (โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง), Ichthyosis (โรคผิว หนังเกล็ดปลา/ผิวหนังแห้งมากจนตกสะเก็ด)
• โดยมักพบในผู้ที่มีผิวแห้งมากกว่าผิวมัน และอาการจะเป็นมากขึ้นในฤดูหนาวที่มีอาการเย็นและแห้ง*
อาการของขนคุดเป็นอย่างไร?
จากการสะสมของโปรตีนเคอราติน อุดตันรูขุมขน ทำให้ขนไม่สามารถงอกพ้นผิวหนังออกมาได้ตามปกติ
• จึงเกิดเป็นตุ่มตามรูขุมขนมากมาย ทำให้ผิวหนังดูสากคล้ายกระดาษทราย หรือหนังไก่
• บริเวณที่พบได้ คือ ต้นแขนด้านนอก* ต้นขาด้านนอก* บริเวณใบหน้า* ก็สามารถเกิดได้เช่นกันซึ่งมักพบในเด็ก และอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสิว ตุ่มจากโรคขนคุดเหล่านี้ มักไม่มีอาการอื่น (เช่น คัน เจ็บ) และมีสีออกสีเนื้อ
• พบได้บ้างที่มีการอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีรอยแดงรอบรูขุมขน และมีอาการคันร่วมด้วย
• อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของอาการ/ลักษณะตุ่มในแต่ละคนค่อนข้างมาก ตั้งแต่ตุ่มแดงอักเสบชัดเจน จนถึงมีอาการเล็กน้อย มีตุ่มไม่มาก และในเรื่องความสากของผิวหนัง
• ลักษณะโรคขนคุดเมื่อดูด้วยกล้องพิเศษ dermoscopy จะพบมีการอุดตันรูขุมขนด้วยkeratin และมีการอักเสบรอบๆรูขุมขน
บริเวณที่มาสามารถเกิดขนคุดขึ้นได้
* แขนหรือใต้วงแขน
* น่องขา ต้นขาและหัวเข่า
* รักแร้
* ผิวหน้า
เทคนิคการดูแลผิวสำหรับปัญหาขนคุด
หลีกเลี่ยงการขัดถูอย่างรุนแรง scrubbing เด็ดขาดซึ่งจะทำให้เกิด เห่อ การอักเสบแดงคันของขนขุดได้
หลักการสำคัญในการดูแลผิวสำหรับขนคุดคือการผลัดเซลล์ผิว (อย่างอ่อนโยน) + การบำรุงผิว โดยต้องให้บาลานซ์กันทั้งสองส่วนนะครับ
• ดูแลผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน exfoliating โดยขจัดเซลล์ผิวหนังชั้นนอกที่นูนเป็นตุ่มออกอย่างเบาๆด้วยผ้าเช็ดตัว ใยบวบ ฟองน้ำนิ่มๆ ***ต้องขอเน้นว่าเช็ดอย่างเบาเบานะครับ ห้ามขัดถูรุนแรงเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะยิ่งทำให้เห่อเป็นมากขึ้น
• ส่วนมากที่พบมักจะผลัดเซลล์ผิวบ่อยเกินไปเช่นทุกวันหรือวันเว้นวันโดยไม่ได้ให้ความชุ่มชื้นผิวเพียงพอทำให้เกิดการระคายเคือง จนกระทั่งผิวหนังอักเสบ ทำให้ขนคุดยิงเห่อครับ
• ทาผลิตภัณฑ์ที่มีสารที่ช่วยในการผลัดเซลล์ผิว Keratolytic agents ซึ่งช่วยให้เซลล์ผิวชั้นนอกที่หนาหลุดลอกออก
***โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารเช่น
Alpha hydroxyl acid AHA
Glycolic acid
Lactic acid
Retinoid (retinol, tretinoin, adapalene, tazarotene)
Salicylic acid
Urea
• การผลัดเซลล์ผิวแนะนำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ (จากคำแนะนำของสมาคมแพทย์ผิวหนังอเมริกา) และต้องดูสภาพผิวด้วยเช่นถ้าหลัง peel มีอาการแดงคันแสบอาจจะต้องลดความเข้มข้นหรือระยะเวลาในการผลัดเซลล์ผิวในครั้งหน้าด้วยนะครับ
• โดยต้องใช้ตามที่ผลิตภัณฑ์แนะนำนะครับเพราะถ้าใช้มากเกินไปอาจจะเกิดอาการระคายเคืองผิวหนังอักเสบแดงคันตามมาได้ https://bit.ly/42y1ndR
• หรือถ้าใช้แล้วมีอาการแห้งแดงคันอักเสบ แนะนำให้เว้นการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวดังกล่าว 2-3 วันจนอาการหายดีแล้วค่อยกลับมาใช้ใหม่ครับ
• ถ้าต้องการกำจัดขนแนะนำเป็นการใช้เลเซอร์กำจัดขนซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเห่อของขนคุดครับ
- อย่าอาบน้ำนานเกินไป แนะนำไม่เกิน 5-10 นาที และอาบน้ำอุณหภูมิอุ่นเล็กน้อย *หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนครับ
- ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยน การใช้การใช้สบู่ก้อนอาจจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้นได้ครับ
- หลีกเลี่ยงการโดนแดดจัด การทำผิวสีแทนหรือการอาบแดดซึ่งจะทำให้ตุ่มขนคุดชัดขึ้นได้ครับ
- ใช้เครื่องเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศ Humidifier เมื่ออากาศเย็นและแห้งมากครับ
• การรักษาอื่นๆกรณีเป็นมากหรือมีอาการคันแนะนำปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับเช่นการใช้การผลัดเซลล์ผิวยาทาหรือเลเซอร์
การใช้เลเซอร์
• การใช้เลเซอร์กำจัดขน เช่น IPL Long pulse Nd Yag diode laser
• Qs NdYAG Laser
• การใช้เลเซอร์กลุ่มอื่นๆเช่น
• Pulsed dye laser PDL (Vbeam ) โดยเฉพาะขนคุดที่มีอาการแดงอักเสบร่วมด้วย
• Alexandrite laser
• KTP laser
• Nd:YAG laser
• Fractional CO2 laser
• Picosecond Laser
แสงและเลเซอร์ที่มีงานวิจัยช่วยดูแลภาวะขนคุด KP Keratosis Pilaris ครับ
โปรแกรม QS Nd: YAG laser
โปรแกรม Fractional CO2 laser
โปรแกรม Diode laser 810 nm
โปรแกรม Pulse Dye laser (PDL)
โปรแกรม Potassium Titanyl Phosphate (KTP)
โปรแกรม Intense Pulse Light Therapy (IPL)
..
Cr:หมอรุจชวนคุย
https://youtube.com/shorts/FseFqNctr8g?si=x4MOkZCIZ4odJi3p
https://youtu.be/Uu776qYPCxQ?si=_TC9gaoDINPtoYCO
https://bit.ly/3G6mO9i
https://bit.ly/3n7jL94
https://youtu.be/GNsJG1ZlpZk
https://youtu.be/fRUzKyy2veM
https://bit.ly/3A4xCCK
https://youtu.be/PsMCxzOyZrk
https://youtube.com/shorts/uNIs95itQnY?feature=share
https://bit.ly/42y1ndR
https://youtu.be/PsMCxzOyZrksy
....
....
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com
31 ธ.ค. 2567