แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?

Last updated: 4 ส.ค. 2567  |  382 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?

 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

 ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

 ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?

https://youtu.be/I-n5MCmii1I?si=BN7paTqi4MnoY5uE 

ภาวะเหงื่อออกมาก Hyperhidrosis คือ ภาวะที่ร่างกายขับเหงื่อออกทางผิวหนังมากผิดปกติ
•ซึ่งอาจเกิดจากความบกพร่องของระบบประสาท ระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ การเจ็บป่วยต่าง ๆ หรืออาจเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิด

•แต่ไม่ได้เกิดจากภาวะที่ทำให้เหงื่อออกมากโดยทั่วไปอย่างอากาศร้อน การออกกำลังกาย ภาวะตื่นเต้นหรือเครียด ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาช่วยควบคุมการหลั่งเหงื่อเพื่อรักษาอาการในเบื้องต้น แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ

เหงื่อออกแบบไหนจัดว่าผิดปกติ
คนเราทุกคนย่อมมีเหงื่อออกได้ ***แต่ถ้ามีเหงื่ออกในลักษณะต่อไปนี้อาจจัดว่าอยู่ในภาวะที่ผิดปกติ***
* เหงื่อออกมากจนเห็นได้ชัด แม้ในวันที่อากาศไม่ร้อน ไม่มีอาการตื่นเต้นหรือเครียด และไม่ได้เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย
* เหงื่อออกไม่เป็นเวลา
* เหงื่อออกมากจนรู้สึกว่ามีผลกระทบ หรือสร้างปัญหา ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน บางคนอาจมีเหงื่อออกมามากโดยเฉพาะบริเวณมือ จนเขียนหนังสือหรือจับสิ่งของไม่ได้ จะจับมือกับใครก็ไม่มั่นใจ*

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?


I.อาการเหงื่อออกมากชนิดปฐมภูมิ Primary Hyperhidrosis หรือเหงื่อออกมากผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ***
•ผู้ป่วยมักมีเหงื่อออกมากบริเวณมือ เท้า ศีรษะ ใบหน้า หรือรักแร้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาในปริมาณเท่า ๆ กันต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ผู้ป่วยอาจมีภาวะนี้อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ โดยมักมีเหงื่อออกในช่วงกลางวันแต่จะไม่มีเหงื่อออกขณะนอนหลับ
•แต่อาจเกิดจากพันธุกรรมได้ โดยผู้ที่มีเหงื่อออกมากมักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นภาวะนี้เช่นเดียวกัน และมักพบในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ส่วนปัจจัยร่วมที่ทำให้อาการนี้แย่ลง ได้แก่ การออกกำลังกาย ภาวะเครียด หรือความวิตกกังวล

II. อาการเหงื่อออกมากชนิดทุติยภูมิ หรือเหงื่อออกมากผิดปกติโดยทราบสาเหตุ
•ผู้ป่วยอาจมีเหงื่อออกมากผิดปกติเป็นบางแห่งอย่างฉับพลันหรือต่อเนื่อง เช่น รักแร้ มือ เท้า หรือทั่วร่างกาย ซึ่งเหงื่ออาจออกช่วงเวลาใดก็ได้ ทั้งเวลากลางวัน กลางคืน หรือทั้งกลางวันและกลางคืน

•และอาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย ดังนี้
* ปวดศีรษะ มีไข้
* คลื่นไส้ น้ำหนักลด
* หายใจไม่อิ่ม หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหรือแน่นหน้าอก
* ซึมเศร้า หลีกหนีสังคม

•เหงื่อออกมากชนิดทุติยภูมิ เป็นชนิดที่พบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคหรือภาวะอื่น ๆ ได้แก่ การตั้งครรภ์ อ้วน น้ำตาลในเลือดต่ำ เบาหวาน หมดประจำเดือนซึ่งมักเกิดขึ้นร่วมกับอาการร้อนวูบวาบ มะเร็งบางชนิดอย่างมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองอุดตัน โรคปอด ต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ ไทรอยด์เป็นพิษ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าท์ พาร์กินสัน และโรคติดเชื้อ เช่น เอดส์ วัณโรค เป็นต้น หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น เดซิพรามีน นอร์ทริปไทลีน และโพรทริปไทลีน เป็นต้น

การวินิจฉัยเหงื่อออกมาก
ผู้ป่วยที่มีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติอาจไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังซึ่งมักวินิจฉัยภาวะนี้จากการซักประวัติของผู้ป่วยร่วมกับการตรวจร่างกาย โดยผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก ปริมาณของเหงื่อ วิธีที่เคยลองรักษาด้วยตนเอง ปัจจัยกระตุ้นอย่างอารมณ์ และอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เหงื่อออกแม้อากาศเย็นหรือในขณะนอนหลับ คันตามผิวหนัง มีไข้ น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ เจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เป็นต้น

....ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีเหงื่อออกมากชนิดทุติยภูมิ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และตรวจเฉพาะทางอื่น ๆ เพื่อหาสาเหตุของอาการป่วย เช่น ***ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ เป็นต้น

นอกจากนั้น แพทย์อาจทดสอบด้วยวิธีการอื่น ๆ แต่ยังไม่เป็นที่นิยมนัก เช่น
•Iodine starch test ใช้แป้งกับไอโอดีนทดสอบบนผิวหนังบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก ใช้กระดาษชนิดพิเศษซับเหงื่อบนผิวหนัง
•วัดค่าการนำไฟฟ้าบนผิวหนัง และให้ผู้ป่วยนั่งในห้องอบหรือตู้อบซาวน่า เป็นต้น

การรักษาเหงื่อออกมาก
ภาวะเหงื่อออกมากชนิดที่ทราบสาเหตุนั้น ผู้ป่วยต้องรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของอาการป่วย รวมทั้งอาจปรับเปลี่ยนยาในกรณีที่มีเหงื่อออกมากจากผลข้างเคียงของยา


ส่วนการรักษาเหงื่อออกมากชนิดที่หาสาเหตุไม่พบ มักต้องรักษาหลายวิธีร่วมกันเพื่อช่วยลดความรุนแรงของภาวะนี้ โดยผู้ป่วยควรเริ่มรักษาอาการด้วยตนเองก่อน เช่น อาบน้ำและรักษาความสะอาดร่างกายเป็นประจำ สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมบางประเภทเพื่อให้เหงื่อระบายได้ดี ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดเหงื่อและระงับกลิ่นกาย เป็นต้น

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?

แนะนำเทคนิคดูแลโรคผิวหนัง: ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) คืออะไร & ดูแลได้อย่างไร?


แนวทางการดูแลรักษา
* การใช้ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อ ผู้ป่วยต้องทายาก่อนนอนในบริเวณที่เหงื่อออกมาก ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่ผสมสารลดเหงื่อจำพวกอะลูมิเนียมคลอไรด์ Aluminum Chloride ทั้งในระหว่างวันและก่อนนอน เพื่อช่วยปิดต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้ มือ เท้า หรือศีรษะชั่วคราว

* แล้วล้างออกตอนเช้า โดยต้องระวังไม่ให้ยาเข้าตา หากผู้ป่วยรู้สึกระคายเคืองที่ผิวหนัง อาจต้องใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซนทาเพื่อช่วยบรรเทาอาการด้ว

การใช้ยา อาจใช้ยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก anticholinergic drug โดยให้ผู้ป่วยทาครีมที่มีส่วนผสมของไกลโคไพโรเลตเพื่อช่วยลดอาการเหงื่อออกมากบริเวณศีรษะและใบหน้า หรือแพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิกซึ่งต้องรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ซึ่งยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต้านแอซิติลโคลีนที่กระตุ้นต่อมเหงื่อและช่วยให้เหงื่อออกน้อยลง -อย่างไรก็ตาม ยานี้ได้ผลดีในผู้ป่วยบางราย และอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง*** เช่น ปากแห้ง ตาแห้ง เวียนศีรษะ ท้องผูก ใจสั่น กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ เป็นต้น หรือแพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้านเศร้าเพื่อลดอาการเหงื่อออกมากรวมทั้งช่วยลดความวิตกกังวลซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีเหงื่อออกมากขึ้น

•การฉีดโบทูลินั่มท็อกซิน Botulinum toxin injection ***แพทย์อาจฉีดโบทอกซ์หรือสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ เพื่อกดการทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อ ก่อนฉีดต้องประคบน้ำแข็งหรือฉีดยาชา และแพทย์ต้องฉีดยาซ้ำ ๆ ในบริเวณที่มีอาการ โดยเฉพาะรักแร้ มือ หรือเท้า ซึ่งฤทธิ์ยาจะอยู่ได้นานประมาณ 6-12 เดือน ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงชั่วคราวในบริเวณที่รักษา

สารโบทูลินั่มท็อกซิน (botulinum toxin) หรือ Botox นอกจากที่ใช้ฉีดเพื่อรักษาริ้วรอยได้แล้วนั้น ยังสามารถนำมาใช้ลดเหงื่อที่บริเวณรักแร้ได้ด้วยครับ


กลไกการออกฤทธิ์
เข้ายับยั้งการกระตุ้นประสาทของต่อมเหงื่อ

วิธีการ
แปะยาชาบริเวณตำแหน่งที่ฉีด จากนั้นฉีดเข้าบริเวณชั้นหนังแท้ของรักแร้ทั้งสองข้าง ประมาณ 25-50 ยูนิตต่อ 1ข้าง (แตกต่างกันในแต่ละบุคคล)
หลังทำการฉีดไม่มีแผล
เห็นผลได้ใน 72 ชั่วโมง และเห็นผลชัดเจนที่สุดใน 2 สัปดาห์ แต่ผลการรักษาจะอยู่ได้นานประมาณ 6-12 เดือนขึ้นอยู่กับชนิดของสารโบทูลินั่มท็อกซิน

งานวิจัย โดย ผศ. นพ. ศุภะรุจ (หมอรุจ) และ รศ. นพ. เทอดพงศ์ เกี่ยวกับการรักษาภาวะเหงื่อออกมากโดยการใช้ Botulinum ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติครับ
Suparuj Lueangarun, Therdphong Tempark Topical Botulinum Toxin Type A Cream for Primary Axillary Hyperhidrosis: A Double-Blind, Randomized, Split-Site, Vehicle-Controlled Study. Dermatol Surg. 2018 Aug;44(8):1094-1101.

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29659406/ 

* การรักษาด้วยคลื่นไมโครเวฟ เป็นการใช้คลื่นไมโครเวฟทำลายต่อมเหงื่อ MiraDry มิราดรายเป็นเทคโนโลยีที่ใชี้คลื่นMicrowave ใหม่ที่ช่วยในการ แก้ไขปัญหาเหงื่อออกรักแร้ และกลิ่นตัว บริเวณใต้วงแขน ใหม่ โดยการใช้พลังงานคลื่นในการทำลายต่อมเหงื่อและต่อมกลิ่นใต้วงแขน
* โดยใช้เวลาในการรักษา 20-30 นาที/ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 3 เดือน แต่วิธีนี้อาจทำให้การรับรู้ของผิวหนังเปลี่ยนไปและรู้สึกไม่สบายผิว อีกทั้งยังเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่เป็นที่นิยม

* เทคนิค RF Microneedle จะใช้คลื่น RF ระงับต่อมเหงื่อจะใช้เทคโนโลยี RF (Radio Frequency) ที่มีความสามารถในการลดเหงื่อจำนวนต่อมเหงื่อใต้บริเวณรักแร้
•โดยใช้พลังงานคลื่นวิทยุ RF ทำให้ทีความร้อนเกิดขึ้นจำนวนต่อมเหงื่อก็จะลดลง เหงื่อจึงมีปริมาณที่น้อยลงและทำให้กลิ่นเหงื่อลดลงตามไปด้วย

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

 ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

https://youtu.be/gQiINyRhTH4?si=TKSBK60q-I7jhNRC

• ด้วยเทคนิคเข็มปรับความลึกได้หลายระดับสามารถลงลึกได้ถึงชั้นผิวหนังที่มีต่อมเหงื่ออยู่ และปล่อยความร้อนเพื่อทำลายต่อมเหงื่อ
ช่วยลดปริมาณเหงื่อและลดกลิ่นตัวได้
• เทคนิค Iodine Starch Test
เป็นเทคนิคการทดสอบเพื่อดูบริเวณและปริมาณเหงื่อที่ออก โดยบริเวณสีดำแสดงถึงบริเวณที่มีเหงื่อออก โดยหมอจะทำก่อนการรักษาครับ

โดยข้อดีของการรักษาด้วยคลื่น RF ลดต่อมเหงื่อ มีดังนี้
1. ช่วยลดเหงื่อที่ออกมาผิดปกติ โดยเฉพาะรักแร้
2. ลดปัญหากลิ่นเหงื่อและกลิ่นตัว
3. การรักษาจะส่งผลต่อต่อมเหงื่อโดยตรงและจะไม่ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ
4. ไม่มีแผล ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องพักฟื้น
5. เห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำการรักษา โดยเหงื่อจะค่อย ๆ ลดปริมาณลง
6. ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น

* การรักษาด้วยไอออนโตฟอรีซีส Iontophoresis เป็นวิธีที่ใช้กระแสไฟฟ้าพลังงานต่ำช่วยส่งผ่านน้ำหรือยาเข้าสู่ผิวหนังบริเวณต่อมเหงื่อของรักแร้ มือ หรือเท้าที่มีอาการผิดปกติโดยตรง ซึ่งส่งผลให้ต่อมเหงื่อบริเวณนั้นทำงานลดลง ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาอย่างน้อย 2-3 ครั้งจึงจะเห็นผล และอาจต้องทำซ้ำทุกเดือนเพื่อให้ได้ผลอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หญิงมีครรภ์ ผู้ที่ใส่เครื่องควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้ที่ใส่อวัยวะเทียมที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือลมชัก ไม่ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ เพราะกระแสไฟฟ้าอาจก่ออันตรายได้

* การกำจัดต่อมเหงื่อด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ และมีเหงื่อออกมากโดยเฉพาะรักแร้ อาจใช้เครื่องดูดสุญญากาศไฟฟ้าช่วยกำจัดต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้

การผ่าตัดหรือการจี้ปมประสาท หากรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผล แพทย์อาจผ่าตัดจี้ทำลายปมประสาทบริเวณรักแร้ที่กระตุ้นการหลั่งเหงื่อ หรือผ่าตัดจี้ปมประสาทไขสันหลังที่กระตุ้นการหลั่งเหงื่อบริเวณมือ แม้เป็นวิธีที่ได้ผลดีแต่มักทิ้งรอยแผลเป็นไว้และอาจทำให้ผู้ป่วยมีเหงื่อออกมากบริเวณอื่น ๆ อย่างตามหน้าอกและใบหน้าได้ ส่วนผู้ป่วยที่มีเหงื่อออกมากบริเวณศีรษะและใบหน้าไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ได้

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทางร่างกาย เช่น
* เกิดการหมักหมมของเหงื่อไคลจนเป็นเหตุให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ แต่มักไม่รุนแรง
* ผิวหนังมีกลิ่นอับซึ่งเกิดจากเหงื่อปะปนกับสารที่เชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังสร้างขึ้น โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ อวัยวะเพศ หรือเท้า
* มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคผิวหนังติดเชื้อหากผิวหนังถูกทำลาย เช่น หูดจากเชื้อไวรัส สังคังจากเชื้อราบริเวณขาหนีบ หรือติดเชื้อราที่เท้าโดยเฉพาะบริเวณนิ้วเท้า เป็นต้น
* แม้เข้ารับการรักษาจนมีอาการดีขึ้นแล้วก็อาจมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

การป้องกันเหงื่อออกมาก
แม้ไม่มีวิธีป้องกันภาวะเหงื่อออกมาก แต่อาจมีวิธีที่ช่วยให้เหงื่อออกน้อยลง และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเหงื่อออกมาก ดังนี้
* อาบน้ำและฟอกสบู่ให้สะอาดเป็นประจำทุกวัน แล้วเช็ดตัวให้แห้งโดยเฉพาะบริเวณรักแร้และนิ้วเท้า เพื่อช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย
* ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่ผสมสารลดเหงื่อจำพวกอะลูมิเนียมคลอไรด์ Aluminum Chloride ทั้งในระหว่างวันและก่อนนอน เพื่อช่วยปิดต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้ มือ เท้า หรือศีรษะชั่วคราว
* สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตจากใยธรรมชาติซึ่งระบายเหงื่อได้ดี ใส่เสื้อผ้าที่ออกแบบมาให้ช่วยระบายเหงื่อเมื่อออกกำลังกาย และใช้ผ้าคอยซับเหงื่อเพื่อไม่ให้เสื้อผ้าเปียกชุ่ม
* สวมใส่รองเท้าที่ผลิตจากหนังสัตว์ซึ่งระบายเหงื่อได้ดีและช่วยป้องกันเท้าเหม็นได้ รวมทั้งควรถอดรองเท้าทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เพื่อให้ไม่เกิดการหมักหมม
* หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อนอย่างชาและกาแฟ รวมทั้งแอลกอฮอล์และอาหารรสเผ็ด เพราะอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเหงื่อ
* เล่นโยคะหรือฝึกสมาธิให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย รวมถึงช่วยลดความเครียดซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้หลั่งเหงื่อ
* อาจฝึกไบโอฟีดแบ็ค Biofeedback ซึ่งเป็นการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าช่วยกระตุ้นกระบวนการทำงานของร่างกายภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ
* ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยจำกัดปริมาณอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน อาหารรสหวานและเค็ม และเพิ่มอาหารที่มีกากใยสูงอย่างผักและผลไม้ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายตามสมควรอย่างสม่ำเสมอ
  

 ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล 

ภาวะเหงื่อออกมากที่ฝ่ามือ (Palmar Hyperhidrosis) คืออะไร ดูแลได้อย่างไร?
และการรักษาด้วยการฉีด Botulinum Toxin บริเวณฝ่ามือ
หมอมีคลิปการดูแลภาวะเหงื่อออกมากด้วยการฉีดสาร Botulinum Toxin ที่ฝ่ามือมาฝากครับ https://youtu.be/yU4RP9xBjo0  
ดูแลเหงื่อออกมากบริเวณฝ่าเท้าด้วยการฉีด Botulinum toxin https://youtu.be/d0OLE0fXxWc 
เหงื่อออกมากที่รักแร้ https://youtu.be/wD3OA3GVsys 

Cr:หมอรุจชวนคุย

เหงื่อออกมาก ,ฉีดโบท็อกซ์ลดเหงื่อ ,ฉีดโบท็อกซ์ลดเหงื่อ ,Botox ,เหงื่อออกรักแร้ ,Botulinumtoxin ,เหงื่อออก ,drsuparuj ,demedclinic,หมอรุจชวนคุย

https://x.com/drsuparuj/status/1816709001108947234?s=46&t=4qYp2uAwziMgaMmgVGnMyQ 
https://bit.ly/3n2uOjC 
https://www.blockdit.com/posts/607dc63072df6a112bfe0b17 
https://vt.tiktok.com/ZSJkkst5b/ 
https://youtu.be/7BJD8bLfs_o 
https://youtu.be/wD3OA3GVsys 
https://youtu.be/5vHdfgWXSvc 
https://youtu.be/Pao1-DW0dBg 
https://youtu.be/yU4RP9xBjo0 
https://youtu.be/I-n5MCmii1I?si=BN7paTqi4MnoY5uE 

http://line.me/ti/p/@Demedclinic

..
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic 
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj 
www.facebook.com/drsuparuj 
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE 
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1 
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/ 
https://mobile.twitter.com/drruj1 
www.demedclinic.com  / www.demedhaircenter.com 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้