โรคหนังศีรษะอักเสบจากต่อมไขมันอักเสบ (SEBORRHEIC DERMATITIS) คืออะไร?

Last updated: 30 พ.ค. 2564  |  5281 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคหนังศีรษะอักเสบจากต่อมไขมันอักเสบ (SEBORRHEIC DERMATITIS) คืออะไร?

โรคหนังศีรษะอักเสบจากต่อมไขมันอักเสบ (SEBORRHEIC DERMATITIS) คืออะไร?
โรคเซ็บเดิร์ม หรือ ชื่อเต็ม โรค Seborrheic Dermatitis เป็นโรคที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมันในชั้นผิวหนัง ถือเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีสาเหตุหลายอย่างด้วยกัน เช่น ระดับของฮอร์โมนที่แปรปรวน หรือจากเชื้อยีสต์ เชื้อราบางตัว รวมถึงจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม

โรคหนังศีรษะอักเสบจากต่อมไขมันอักเสบ (SEBORRHEIC DERMATITIS) คืออะไร?

อาการแสดงอาจพบเป็นรังแค โดยมากกว่า 50% ในผู้ใหญ่มักพบปัญหารังแค ขุยแห้งสีเหลืองบริเวณหนังศรีษะ
นอกจากนั้นอาการเป็นขุยสีเหลืองยังพบได้ในบริเวณอื่น โดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันเป็นจำนวนมาก เช่น ใบหน้า คิ้ว รอบดวงตา หู จมูก แก้ม
บางครั้งอาจพบได้ในเด็กทารก ซึ่งอาการจะเริ่มดีขึ้น และหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น

อาการแสดงอาจพบเป็นรังแค โดยมากกว่า 50% ในผู้ใหญ่มักพบปัญหารังแค ขุยแห้งสีเหลืองบริเวณหนังศรีษะ

อาการแสดงอาจพบเป็นรังแค โดยมากกว่า 50% ในผู้ใหญ่มักพบปัญหารังแค ขุยแห้งสีเหลืองบริเวณหนังศรีษะ

อาการของปัญหาต่อมไขมันอักเสบ (SEBORRHEIC DERMATITIS)
* ผิวแห้ง เป็นขุย สีเหลือง มีรังแคร่วมด้วย
* ผิวแห้งเป็นปื้นๆ
* ผิวบริเวณนั้นมันมาก
* มีอาการคัน
* ผิวอัเสบ
* ผมร่วง

 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

อาการของปัญหาต่อมไขมันอักเสบ (SEBORRHEIC DERMATITIS) +

การรักษาหนังศีรษะอักเสบจากต่อมไขมันอักเสบ (SEBORRHEIC DERMATITIS) ควรดูแลอย่างไร
วิธีการดูแลขั้นพื้นฐานเพื่อป้องกันการกำเริบ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้น และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เหมาะสม

✅โรคต่อมไขมันอักเสบเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาจึงเป็นการควรคุมโรคไม่ให้มีอาการสาหัสมากกว่าที่เป็นอยู่ สำหรับผู้ที่เป็นเซ็บเดิร์มบริเวณหนังศีรษะ แนะนำให้ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของซิงค์ไพริธีโอน (zinc pyrithione), เซเลเนี่ยม ซัลไฟท์ (selenium sulfide), อิมิดาโซล (imidazoles), แชมพูคีโตโคนาโซล (ketoconazole) รวมถึงครีม โลชั่น หรือโฟมที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิค (salicylic acid) และ coal tar


✅ในกรณีที่มีผื่นหนาบริเวณหนังศีรษะแนะนำให้หมักผมด้วย Baby Oil แล้วสวมหมวกคลุมทิ้งไว้ข้ามคืน เมื่อสระผมในตอนเช้าจะช่วยให้สะเก็ดหลุดออกได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเซ็บเดิร์มบริเวณใบหน้าให้ใช้แชมพู 2% ketoconazole ล้างหน้าแทนการใช้สบู่ในช่วงที่โรคกำเริบ และควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของของแอลกอฮอลล์เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ เช่น ครีมโกนหนวด, ครีมหลังโกนหนวด (After shave), โทนเนอร์ (Toner) เป็นต้น


✅เมื่อเกิดผื่นแดง ขุย ตกสะเก็ด ให้ใช้ยาทาฆ่าเชื้อรา 2% ketoconazole ทาเช้าเย็นบริเวณรอยโรค ประมาณ 4 สัปดาห์จนกว่าอาการจะดีขึ้น อาจเพิ่มการทาสเตียรอยด์ แต่แนะนำให้ใช้สเตียรอยด์ในช่วงสั้นๆ เท่านั้นเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยเลือกที่เป็นชนิด 1% Hydrocortisone ทาบางๆ บริเวณที่เป็นรอยโรค นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาด้วยการฉายแสงแดด Narrow band ultraviolet B โดยฉายแสงแดดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน จนกว่ารอยโรคจะหมด
#หมอรุจชวนคุย

https://www.blockdit.com/posts/6053797de320230187690475  
https://vt.tiktok.com/ZSJFtW17f/  
https://youtu.be/PFSJYOEeFbA  

...

จองโปรแกรมรักษาและสอบถามข้อเสนอพิเศษที่นี่
คลิก!! Line : @demedclinic

http://line.me/ti/p/@Demedclinic     



ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic      
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/demedclinic      
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE     
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1     
Tiktok : https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/     
www.demedclinic.com   / www.demedhaircenter.com      

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้